สารบัญบทความ
- ใบขับขี่มีกี่ประเภท?
- 1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
- 2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
- 3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รถตุ๊กตุ๊ก)
- 4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
- 5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก)
- 6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- 7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
- 8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน
- 9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
- 10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (9)
- 11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ)
- สรุปประเภทใบขับขี่
หากคุณขับรถในทุกวัน คุณจะต้องพกใบขับขี่ติดตัว ติดรถไว้ หากมีการเรียกตรวจสอบคุณจะต้องแสดงบัตรใบขับขี่ให้กับเจ้าหน้าที่ หรือหากคุณขับรถประเภทอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ส่วนบุคคล จะต้องใช้ใบขับขี่ไหนและมีเงื่อนไขอย่างไร Fasttabien ได้นำบทความมาฝาก ไปอ่านกัน
ใบขับขี่มีกี่ประเภท?
1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว เป็นใบขับขี่สำหรับไปทำใบขับขี่ครั้งแรก จะมีระยะเวลาการใช้งานสั้นและค่าธรรมเนียมไม่แพง ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว : อายุการใช้งาน 1 ปี , อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว (รถตุ๊กตุ๊ก) : อายุการใช้งาน 1 ปี , อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว : อายุการใช้งาน 1 ปี , อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท
2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
หากคุณใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวครบ 1 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะมีอายุการใช้งานถึง 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 500 บาท
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รถตุ๊กตุ๊ก)
หากคุณใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว (รถตุ๊กตุ๊ก) ครบ 1 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รถตุ๊กตุ๊ก) โดยจะมีอายุการใช้งานถึง 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 250 บาท
4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ เป็นใบขับขี่ที่ออกให้สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถยนต์ขนส่งสาธารณะหรือแท็กซี่ โดยผู้ขับขี่จะต้องใช้ใบขับขี่ชั่วคราวไม่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งานถึง 3 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 300 บาท โดยคุณสมบัติที่จะใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะดังนี้
- ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
- ต้องมีความรู้ความสามารถในการขับรถ รู้กฎหมาย กฎจราจร
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
- ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก)
ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) เป็นใบขับขี่ที่ออกให้สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ โดยผู้ขับขี่จะต้องใช้ใบขับขี่ชั่วคราวไม่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งานถึง 3 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 150 บาท โดยคุณสมบัติที่จะใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊กตุ๊ก) ดังนี้
- ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
- ต้องมีความรู้ความสามารถในการขับรถ รู้กฎหมาย กฎจราจร
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
- ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
- ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวครบ 1 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยจะมีอายุการใช้งานถึง 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 250 บาท
7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นใบขับขี่ที่ออกให้สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือวินมอเตอร์ไซค์ โดยผู้ขับขี่จะต้องใช้ใบขับขี่ชั่วคราวไม่ต่ำกว่า 1 ปี ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งานถึง 3 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 150 บาท
8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน
ใบอนุญาตขับรถบดถนน ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตร กฎหมายต่าง ๆ วิธีการขับขี่ให้ปลอดภัย ใบอนุญาตขับรถบดถนนจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 250 บาท
9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ เป็นใบขับขี่ต้องผู้ขับต้องใช้ความชำนาญในการขับสูงมาก ซึ่งผู้ที่ใช้ใบขับรถแทรกเตอร์จะต้องใช้เพื่อการเกษตรกรรมเท่านั้น ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์มีอายุการใช้งานถึง 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 250 บาท
10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (9)
ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น คือ ใบที่นอกจาก 1 ถึง 9 ที่กล่าวมาข้างต้น โดยใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น มีอายุการใช้งานถึง 5 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท
11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ)
ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ) เป็นใบอนุญาตให้สามารถขับขี่รถยนต์นอกประเทศไทยได้ โดยผู้ที่ขอใบอนุญาติขับรถระหว่างประเทศนั้นจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคลคลที่มีอายุ 5 ปี จึงสามารถจะถือใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศได้ โดยใบขับขี่นี้มีอายุการใช้งานถึง 1 ปี และมีอัตราค่าธรรมเนียม 500 บาท
สรุปประเภทใบขับขี่
ประเภทใบขับขี่ | อายุ (ปี) | อัตราค่าธรรมเนียม |
---|---|---|
1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว – ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว – ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว – ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว | 1 1 1 | 100 50 50 |
2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล | 5 | 500 |
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล | 5 | 250 |
4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ | 3 | 300 |
5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ | 3 | 150 |
6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล | 5 | 250 |
7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ | 3 | 150 |
8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน | 5 | 250 |
9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ | 5 | 250 |
10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (9) | 5 | 100 |
11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ) | 1 | 500 |
รู้แล้วใช่ไหมคะ ว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท หากคุณขับรถประเภทไหนควรใช้ให้ถูกประเภทนะคะ จะได้ไม่ผิดกฎหมาย และ Fasttabien ขอให้คุณขับรถเดินทางไปไหนโดยสวัสดิภาพ ปลอดภัยแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุนะคะ
ถ้าหากคุณสนใจเลขทะเบียนรถมงคล เลขสวยมงคล เลขคู่ผลรวมดีสามารถสอบถามได้ที่ Fasttabien เพราะที่นี่เป็นบริการช่วยจองทะเบียนรถกรุงเทพฯ ให้คุณ รับรองได้เลขสมใจแน่นอน การันตีไวกว่าจองเองเพียง 36 วิ สนใจสอบถามเพิ่มเติม Click >> จองทะเบียนรถ