สารบัญบทความ
การต่อภาษีรถยนต์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะต้องทำการต่ออายุทุก ๆ 1 ปี หรือหากเรียกง่าย ๆ คือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั่นเอง หากคุณไม่รู้ว่าการต่อภาษีรถยนต์นั้นใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ถ้าหากขาดต่อจะต้องเสียค่าปรับกี่บาท หรือแม้กระทั้งต่อภาษีรถยนต์ที่ไหน วันนี้ FastTabien ได้หาคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้ ไปอ่านกันได้เลยค่ะ
ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนาการจดทะเบียนรถยนต์
- เอกสาร พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ
- ใบตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน (รถตู้ , รถสองแถว)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป (รถปิคอัพ)
- รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
- ใบติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส)
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์
- ยื่นขอคำขอต่อทะเบียนรถ ณ สถานที่รับต่อภาษีรถยนต์
- ดำเนินการตรวจสภาพรถ ณ จุดที่กำหนด (หากดำเนินการนอกขนส่ง จำเป็นต้องขอเอกสารตรวจสภาพรถก่อน)
- ชำระเงินค่าธรรมเนียม
- รับหลักฐานการเสียภาษี และดำเนินการป้ายทะเบียน หากเป็นกรณีจดใหม่
ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่?
ต่อภาษีรถยนต์พิจารณาความจุรถเป็นหลัก โดยราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องยนต์ (CC) โดยรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง จะมีอัตราภาษีรถยนต์ ดังนี้
- ช่วง 600 ซีซีแรก 0.50 บาทต่อซีซี
- ช่วง 601 – 1,800 ซีซีละ 1.50 บาท
- ตั้งแต่ 1,801 ซีซีละ 4 บาท
สำหรับรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีเป็นต้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี ในอัตราส่วนลด ดังนี้
อายุการใช้งานของรถ | ส่วนลดค่าภาษี |
---|---|
ปีที่ 6 | 10% |
ปีที่ 7 | 20% |
ปีที่ 8 | 30% |
ปีที่ 9 | 40% |
ปีที่ 10 เป็นต้นไป | 50% |
หากขาดการต่อภาษีรถยนต์เสีย “ค่าปรับ” กี่บาท?
รถยนต์ที่ขาดการต่ออายุภาษีจะต้องเสียค่าปรับ 1% ทุกเดือนนับจากวันที่หมดอายุ และจะเก็บไปเรื่อยๆจนกว่าเราจะต่ออายุภาษีสำเร็จ หากขาดการต่ออายุภาษีติดต่อกันมากกว่า 3 ปี จะทำให้ถูกระงับป้ายทะเบียนรถ เจ้าของรถจะต้องดำเนินการยื่นขอป้ายทะเบียนใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี (ตามกฎหมายหากไม่ต่อภาษีและไม่ต่อพ.ร.บ. มีโทษถูกปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท)
ต่อภาษีรถยนต์ต้องที่ไหน?
1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีทั้งหมด 5 พื้นที่ ได้แก่
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1
เขตพื้นที่ : เขตบางขุนเทียน, เขตบางคอแหลม , เขตจอมทอง , เขตธนบุรี , เขตราษฎร์บูรณะ , เขตคลองสาน , เขตสาทร , เขตทุ่งครุ , เขตบางบอน และเขตยานนาวา
เบอร์โทรติดต่อ : 0-2415-7337
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
เขตพื้นที่ : เขตตลิ่งชัน , เขตบางพลัด , เขตบางกอกน้อย , เขตบางกอกใหญ่ , เขตภาษีเจริญ , เขตหนองแขม , เขตพระนคร , เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา
เบอร์โทรติดต่อ : 0-2882-1620 ต่อ 35
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3
เขตพื้นที่ : เขตพระโขนง , เขตประเวศ , เขตสวนหลวง , เขตคลองเตย , เขตบางนา วัฒนา และเขตบางจาก
เบอร์โทรติดต่อ : 0-2332-9688 ต่อ 91
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4
เขตพื้นที่ : เขตมีนบุรี , เขตหนองจอก , เขตลาดกระบัง , เขตบึงกุ่ม , เขตสะพานสูง , เขตคันนายาว และเขตคลองสามวา
เบอร์โทรติดต่อ : 0-2543-5500 ต่อ 2
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5
เขตพื้นที่ : เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย , เขตปทุมวัน , เขตดุสิต , เขตบางซื่อ , เขตบางเขน , เขตดินแดง , เขตจตุจักร , เขตลาดพร้าว , เขตสายไหม , เขตสัมพันธวงศ์ , เขตบางรัก , เขตพญาไท , เขตห้วยขวาง , เขตบางกะปิ , เขตดอนเมือง , เขตราชเทวี , เขตหลักสี่ และเขตวังทองหลวง
เบอร์โทรติดต่อ : 0-2272-3100
2. ที่ทำการไปรษณีย์
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
4. บริการรับชำระภาษีแบบเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 7.30 – 15.30 น.
5. ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 7.30 – 15.30 น.
6. ห้างสรรพสินค้า โครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax)
- ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เปิดให้บริการเวลา 9.00 – 17.00 น. จำนวน 14 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และ บางนา
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล รามอินทรา
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
- ศูนยการค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนคริทร์
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00 – 18.00 น.
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 15.00 น.
- ต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เซ็บไซต์ https://eservice.dlt.go.t
การต่อภาษีรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็สามารถต่อภาษีได้สำเร็จแล้ว แต่อย่าลืมนะคะว่า หากขาดการต่อภาษีอาจเสียค่าปรับ อย่าลืมจ่ายให้ตรงต่อเวลานะคะ
หากสำหรับใครที่ต่อภาษีแล้ว อยากได้เลขทะเบียนรถยนต์ใหม่สวย ๆ เลขมงคล เสริมชีวิต ราคาเบา ๆ ขอแนะนำบริการ รับจองเลขทะเบียนกรุงเทพฯ การันตีไวกว่าจองเองเพียง 36 วิ สนใจใช้บริการ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม Click >> จองทะเบียนรถ