ไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือ ไฟผ่าหมาก ใช้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย!

การเปิดไฟฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าไม่เปิดจะเกิดอันตรายต่อรถคันอื่น ๆ ได้ หากยังไม่รู้ว่าไฟฉุกเฉินต้องเปิดตอนไหน และไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินตอนไหน หากฝ่าฝืนผิดกฎหมายอย่างไร วันนี้ FastTabien ได้นำบทความมาฝากกันค่ะ

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ คืออะไร?

จองทะเบียนรถ emergency button front car
ไฟฉุกเฉินรถยนต์ คืออะไร?

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) หรือ ไฟผ่าหมาก มีลักษณะของปุ่มสีแดงรูปสามเหลี่ยมหรือสีดำขึ้นอยู่กับรถยนต์รุ่นนั้น ๆ ซึ่งไฟฉุกเฉินอยู่จะติดตั้งอยู่บริเวณใกล้ช่องแอร์ เมื่อกดปุ่มสัญญาณไฟฉุกเฉิน จะเกิดไฟกระพริบที่ไฟเลี้ยวทั้ง 4 ด้าน

จองทะเบียนกับ Fasttabien
จองทะเบียนกับ Fasttabien

กฎหมายการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์

  • ไฟฉุกเฉินตาม พรบ. จราจร มาตรา 9 และกฎกระทรวงข้อ 11 กฎหมายกำหนดให้ใช้ไฟฉุกเฉิน เฉพาะกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้น
  • พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ระบุว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์ขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • กฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 (28) กำหนดให้รถแต่ละประเภท คือ รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้าง รถสี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถยนต์บริการ ต้องมีอุปกรณ์ แสงสัญญาณเตือนอันตราย มีระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตราย โคมไฟเลี้ยวทุกดวงต้องกะพริบพร้อมกัน

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ควรเปิดใช้ตอนไหน?

จองทะเบียนรถ red emergency stop sign red triangle warning sign broken black suv car selective focus with shallow depth field
ไฟฉุกเฉินรถยนต์
  1. กรณีรถเสีย ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวรถยนต์ได้ ต้องเปิดไฟฉุกเฉินเตือนรถคันอื่น ๆ เพื่อให้หลีกเลี่ยงใช้ช่องทางถัดไปได้
  2. กรณีรถที่วิ่งด้วยความเร็วเจอสิ่งกีดขวางข้างหน้า หรือรถคันหน้าเบรกกระทันหันสามารถใช้ไฟฉุกเฉินเตือนคันหลังให้ระวังและชะลอความเร็วได้ โดยการเปิดไฟฉุกเฉินในระยะเวลาสั้น ๆ

ตอนไหน “ไม่ควรใช้ไฟฉุกเฉิน”

ในปัจจุบันมีการใช้ไฟฉุกเฉินไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก หากมีการใช้ผิดวิธีอาจเกิดอันตรายต่อรถคันอื่น ๆ ได้ ซึ่งตอนไหนไม่ควรใช้ไฟฉุกเฉิน มีดังนี้

  1. เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อฝนตกหนัก ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินขณะรถวิ่ง เพราะหากฝนตกหนัก กระจกจะเปิดการพล่ามัวทำรถที่ตามมาด้านหลังสับสนว่ารถเสียหรือไม่ หรือหากเปลี่ยนเลนก็ไม่สามารถรู้ได้
  2. เปิดไฟฉุกเฉินขณะรถวิ่ง อาจทำให้คันอื่นเกิดอันตรายได้เมื่อคุณเปลี่ยนเลน เพราะรถคันหลังไม่สามารถทราบได้ว่าคุณจะไปทางขวาหรือทางซ้าย
  3. เปิดไฟฉุกเฉินผ่านแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร เพราะอาจทำให้คนอื่นสับสนได้ว่าคุณจะเลี้ยวไปทางซ้ายหรือทางขวา หากมีการแซงขณะที่คุณเลี้ยวรถอาจเกิดอุบัติเหตุได้
  4. เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อแวะจอดซื้อของข้างทางหรือทำธุระ อาจทำให้เกิดการจราจรติดขัด ควรจอดในที่ที่ควรจอด เช่น ลานจอดรถ เป็นต้น
จองทะเบียนกับ Fasttabien
จองทะเบียนกับ Fasttabien

หากเปิดไฟฉุกเฉินให้ถูกแค่นี้ก็ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างได้แน่นอนค่ะ และสำหรับใครกำลังมองหาเลขทะเบียนรถยนต์ใหม่สวย ๆ เลขมงคล เสริมชีวิต ราคาเบา ๆ ขอแนะนำบริการ รับจองเลขทะเบียนกรุงเทพฯ การันตีไวกว่าจองเองเพียง 36 วิ สนใจใช้บริการ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม Click >> จองทะเบียนรถ

อ่านเลย  9 จุดเช็ครถก่อนเดินทางไกลง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
Total
0
Shares
โพสต์ก่อนหน้า
จองทะเบียนรถ Frame Fast29 01

“ศูนย์โตโยต้า” ในกทม. ที่มีมาตรฐาน เทคโนโลยีล้ำ

โพสต์ถัดไป
จองทะเบียนรถ Frame Fast31 01

เติมน้ำมันชนิดไหนเหมาะกับรถ และเติมน้ำมันผิดทำอย่างไร?

Total
0
Share